Feline Panleukopenia Virus Antigen Rapid Test
Feline Panleukopenia Virus Antigen Rapid Test
(FPV Ag)
ชุดทดสอบแบบเร่งด่วนสำหรับตรวจหาแอนติเจนของเชื้อไวรัสโรคหัดแมว (FPV Ag)
- High accuracy & sensitivity
- Simple operation, easy to use, stable
- Rapid: Get results in 5-10 minutes
วัตถุประสงค์การใช้
ผลิตภัณฑ์นี้ใช้สำหรับการตรวจหาแอนติเจนของเชื้อไวรัสโรคหัดแมว (FPV Ag) โดยใช้หลักการ Lateral Flow Immunoassay (หรือ Immunochromatographic assay) เป็นการตรวจจับเชิงคุณภาพที่จำเพาะต่อแอนติเจนของไวรัสโรคหัดแมว (Feline Panleukopenia Virus) โดยใช้ตัวอย่างจากอุจจาระที่สดใหม่ (Fresh feces) หรือ เช็ดเก็บตัวอย่างอุจจาระในทวารหนักของแมว (Rectal swab) ชุดทดสอบแบบเร่งด่วนนี้มีประโยชน์สำหรับการระบุการติดเชื้อไวรัสโรคหัดแมว (Feline Panleukopenia Virus).
อุปกรณ์ในชุดตรวจประกอบด้วย
- อุปกรณ์ทดสอบ หรือ แถบตรวจ (Test devices): FPV Ag
- ไม้เก็บตัวอย่าง (ทำจากพลาสติก) ปลายด้านหนึ่งหุ้มด้วยสำลีปลอดเชื้อ (Swabs)
- หลอดบัฟเฟอร์ (Buffer tubes) ภายในบรรจุสารเคมีสกัดที่ใช้เป็นสารละลายบัฟเฟอร์สำหรับละลายตัวอย่าง
- คำแนะนำวิธีการใช้งาน (Package insert)
- ที่ตั้งหลอดบัฟเฟอร์ (Workstation)
อุปกรณ์ที่ต้องใช้แต่ผู้ให้บริการไม่ได้จัดมาให้
นาฬิกาจับเวลา
การจัดเก็บและความเสถียรภาพของชุดตรวจ
อุปกรณ์ทดสอบหรือแถบตรวจต้องบรรจุอยู่ในซองอลูมิเนียมฟอยล์ที่ปิดผนึก และเก็บให้ห่างจากแสง เก็บในที่อุณหภูมิห้อง (4-30 °C) ห้ามแช่แข็ง ควรใช้อุปกรณ์ชุดทดสอบนี้ก่อนวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลากบรรจุภัณฑ์
คำเตือน ข้อควรระวัง และข้อมูลความปลอดภัย
- อุปกรณ์ชุดทดสอบนี้ใช้สำหรับแมวเท่านั้น
- ผลลัพธ์ของการตรวจอาจได้รับอิทธิพลจากความชื้นและอุณหภูมิ ดังนั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดในการจัดเก็บ หรือระหว่างการใช้งาน
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าซองอลูมิเนียมฟอยล์ที่บรรจุอุปกรณ์ทดสอบหรือแถบตรวจไม่เสียหายก่อนเปิด และให้ดำเนินการทดสอบทันทีเมื่อเปิดซองฟอยล์แล้ว
- ห้ามนำส่วนประกอบของชุดทดสอบกลับมาใช้ซ้ำอีก
- ห้ามใช้หลังจากวันหมดอายุ
- ห้ามผสมส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ในหมายเลขล็อต หรือชุดผลิตที่แตกต่างกัน
- เนื่องจากตัวอย่างทั้งหมดอาจติดเชื้อได้ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานควรสวมถุงมือป้องกันขณะทำการทดสอบและจัดการกับตัวอย่าง และล้างมือให้สะอาดหลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบแล้ว
- ฆ่าเชื้อและกำจัดตัวอย่าง ชุดทดสอบที่ใช้แล้ว และวัสดุที่อาจปนเปื้อนอย่างปลอดภัยตามกฎข้อบังคับของประเทศและท้องถิ่นนั้นๆ
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบจำนวนอุปกรณ์ของชุดทดสอบก่อนการใช้งาน
ตรวจเช็คจำนวนอุปกรณ์ของชุดทดสอบมีครบถ้วน และก่อนทำการทดสอบต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีอุปกรณ์ใดเสียหาย หรือชำรุด การทดสอบต้องอยู่ภายใต้อุณหภูมิห้อง (15–30 °C)
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการทดสอบ
เปิดผนึกหลอดบัฟเฟอร์ที่มีสารเคมีสกัดบรรจุอยู่ข้างใน ระวังอย่าให้สารเคมีกระเซ็น หรือ หก, วางหลอดบัฟเฟอร์ลงบนแท่นที่ตั้งของหลอดบัฟเฟอร์ (Workstation) ดังภาพ
นำไม้เก็บตัวอย่างออกจากบรรบรจุภัณฑ์ โดยนำด้านที่มีลักษณะปลายสำลีเข้าหาตัวอย่าง และระวังอย่าให้ปลายด้านสำลีนี้สัมผัสกับสิ่งต่างๆก่อนสัมผัสกับตัวอย่าง, ใช้ปลายด้านที่มีสำลีปลอดเชื้อของไม้เก็บตัวอย่างนี้ สอดเข้าไปในรูทวารหนักของแมว เช็ดเก็บตัวอย่างอุจจาระสดของแมวโดยการหมุนไม้เก็บตัวอย่างเบาๆ 3-4 ครั้ง (Rectal swab) หรือ เช็ดเก็บอุจจาระสดของแมวที่พึ่งถ่ายลงบนพื้นใหม่ๆ (Fecal swab)
ใส่ปลายด้านที่มีสำลีพร้อมกับอุจจาระลงในสารละลายบัฟเฟอร์ หมุนสำลีมากกว่า 10 ครั้ง เพื่อให้อุจจาระออกจากสำลีและละลายในสารละลายได้มากที่สุด, ปิดฝาหลอดหยดของเหลวให้แน่น
นำอุปกรณ์ทดสอบ (แถบทดสอบ) ออกจากถุงฟอยล์อลูมิเนียมแล้ววางลงบนโต๊ะที่สะอาดและเรียบ หยดตัวอย่างจากหลอดหยดของเหลว (สารเคมีสกัดที่ผสมกับอุจจาระแล้ว) ในปริมาณ 3 หยด (ประมาณ 90 ไมโครลิตร) ลงในช่องรับตัวอย่าง (S) ของอุปกรณ์ทดสอบ
อ่านผลภายใน 5-10 นาที หลังจากหยดสารละลายลงในช่องรับตัวอย่าง (S) ของแถบทดสอบ
ผลลัพธ์จะไม่ถูกต้องหลังจากผ่านไป 15 นาที
ขั้นตอนที่ 3 การแปลผลการทดสอบ
ผลบวก (+) คือ ขึ้นขีดสีแดงที่ตัวอักษร C และ T หรือ มีขีดสีแดงขึ้นที่เส้นตัวอักษร C และ T โดยไม่คำนึงว่าเส้น T จะเข้มหรือจาง ก็ถือว่าให้ผลบวกเช่นกัน หมายถึงว่า ตรวจพบแอนติเจนของเชื้อ FPV
ผลลบ (-) คือ ปรากฏขีดสีแดงเฉพาะเส้นที่ตัวอักษร C ชัดเจน นั่นหมายถึงว่า ไม่พบแอนติเจนของเชื้อ FPV
ไม่สามารถแปลผลได้ คือ ไม่มีเส้นสีปรากฏในบริเวณ C ไม่ว่าเส้น T จะมีลักษณะอย่างไร ในกรณีนี้ควรทำการทดสอบใหม่อีกครั้งด้วยชุดทดสอบอันใหม่
ข้อจำกัด
ชุดทดสอบนี้เป็นเพียงเครื่องมือในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นเท่านั้น และแม้ว่าชุดทดสอบแบบเร่งด่วนในการตรวจหา แอนติเจนของเชื้อไวรัสโรคหัดแมว (FPV) จะมีความแม่นยำสูงมาก แต่ผลการทดสอบที่ผิดพลาดก็อาจจะเกิดขึ้นได้บ้างในบางกรณี ดังนั้นหากได้ผลลัพธ์ที่น่าสงสัย ต้องทำการทดสอบทางคลินิก หรือ ทดสอบทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคทางคลินิกที่แม่นยำชัดเจนไม่ควรขึ้นอยู่กับผลการทดสอบเพียงอย่างเดียว แต่ควรได้รับการวินิจฉัยด้วยกระบวนการทางสัตวแพทย์หลังจากประเมินผลการทดสอบทางคลินิกและผลการทดสอบทางห้อง ปฏิบัติการทั้งหมดรวมกันแล้ว